วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

อื่นๆๆ


อาหารประจำชาติ หล่าเพ็ด (Lahpet)


ธงชาติประเทศพม่า

ประเทศพม่า

ดอกไม้ประจำชาติำพม่า คือ ดอกประดู่ ซึ่งผลิดอกสีเหลืองทองและส่งกลิ่นหอมหลังฤดูฝนแรกของเดือนเมษายน อันเป็นเวลาเดียวกับการเฉลิมฉลองปีใหม่ของประเทศพม่า


สถานที่ท่องเที่ยว


สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
วัดพระหินขาว
พระธาตุมุเตา หรือ พระมหาเจดีย์ชเวมอดอ
พระราชวังหงสาวดี หรือ Kanbawzathadi Palace วังพระเจ้าบุเรงนอง
พระพุทธไสยาสน์ชเวทาลยวง
พระมหาเจดีย์
พระเจดีย์ไจปุ่น(Kyaikpun Pagoda)

วัดพระหินขาว
หรือที่มีชื่อเรียกอย่างทางการว่า “Lawka Chantha Abaya
Labamuni Buddha Image” พระหินขาวนี้สร้างจากหินขาวที่มีลักษณะมันวาว สีขาวสะอาดและไม่มี
ตำหนิ สูง 37 ฟุต กว้าง 24 ฟุต หนัก 600 ตัน เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง พระหัตถ์ขวาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากสิงคโปร์ และศรีลังกายกขึ้นหันฝ่าพระหัตถ์ออกจากองค์ หมายถึงการไล่ศัตรูและประทานความเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้ยังมีการนำหินที่เหลือมาสลักเป็นพระพุทธบาทซ้าย-ขวา ประดิษฐานอยู่ บริเวณด้านหลังพระพุทธรูปด้วย จากนั้นชมช้างเผือกคู่บ้านคู่เมืองของประเทศพม่าในบริเวณใกล้กันศาสนสถานที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ใน เมืองหงสาวดี เป็นพระธาตุเก่าแก่อายุกว่า 1,200 ปี เคยพังทลายลงมาเพราะแผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ. 2473 หรือเมื่อ 74 ปีที่แล้ว ต่อมาได้รับการบูรณะปฎิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2497 ปัจจุบันพระธาตุมุเตามีความสูงประมาณ 125 เมตร พระราชวังหงสาวดี หรือ Kanbawzathadi Palace อดีตพระราชวังของ “พระเจ้าบุเรงนองกยอดิน นรธา” ที่คนไทยรู้จักในดีในนามของผู้ชนะสิบทิศ สิ่งปลูกสร้างไม่ว่าจะเป็น ตำหนักที่บรรทมและท้อง พระโรงที่ออกว่าราชการซึ่งตั้งอยู่ในพระราชวังทุกวันนี้ และเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์และถูกจับเป็นตัวประกัน ในอดีตพระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2109 มีผังเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยม กำแพงแต่ละด้านยาวประมาณ 1.5 ไมล์ถูกสร้างขึ้นใหม่ตามบันทึกของ นายราล์ฟ ฟิตซ์ ชาวอังกฤษซึ่งเข้ามาติดต่อค้าขายและได้เห็นเมืองหงสาวดีในยุครุ่งเรืองได้บรรยายไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2129 ก่อนที่พระราชวังหงสาวดีซึ่งถูกสร้างขึ้นอย่างสวยงามจะถูกเผาทำลายลงในปี พ.ศ. 2143 พระพุทธไสยาสน์ชเวทาลยวง ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์อันดับสองของเมืองหงสาวดี พระพุทธรูป องค์นี้มีความยาว 60 เมตร สูง 17 เมตร สร้างขึ้นโดยพระเจ้ามิคทิปปะ ใน พ.ศ. 1537 พระพุทธรูปองค์นี้ได้ตากแดดกรำฝนอยู่เป็นเวลาหลายร้อยปีจนกระทั่งทรุดโทรมลง ระหว่างนั้นก็ได้มีการบูรณะมาโดยตลอด แต่ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าอลองพญาแห่งราชวงศ์คองบอง ปราบมอญราบคาบ เมืองหงสาวดีถูกทิ้งร้างพระพุทธไสยาสน์ก็ถูกทอดทิ้งจนกลางเป็นเพียงกองอิฐถูกต้นไม้ขึ้นปกคลุมหมด จนถึงปี พ.ศ. 2424 เมื่ออังกฤษ สร้างทางรถไฟสายพม่าใต้ จึงได้พบพระนอนองค์นี้ จากนั้นในปี พ.ศ. 2491 หลังพม่าได้รับเอกราชก็มีการบูรณะปฏิสังขรณ์อย่างจริงจัง โดยทาสีและปิดทองใหม่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน พระมหาเจดีย์ พระมหาเจดีย์ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าบุเรงนอง ในปี พ.ศ. 2103 เพื่อประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วจากลังกาและ พระเจดีย์ไจปุ่น ซึ่งมีอายุมากกว่า 500 ปี สร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ 4 องค์หันพระพักตร์ไปทุกทิสทาง แทนความหมายถึง พระพุทธเจ้า ทั้งสี่พระองค์ในภัทรกัป ได้เวลาสมควรนำท่านเดินกลับสู่กรุงย่างกุ้ง 

วัฒนธรรมพม่า


วัฒนธรรม
วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า ลุนตยาอชิก

การแต่งกาย เครื่องแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง ที่เรียกว่า “ลองยี” (Longeje) ซึ่งมีทั้งผ้าฝ้ายและไหมที่มีสีสด ของผู้หญิงจะมีลายเชิงด้านล่างและมีลวดลายเล็ก ๆ กระจายทั่ว ผืนผ้า ลวดลายของแต่ละท้องถิ่นจะต่างกัน ผ้าที่ทอมาจากเมืองอมรปุระเป็นลวดลายดอกไม้ เครือไม้ หรือเป็นดอกเป็นลายตามขวาง ไม่นิยมใช้เข็มขัด สวมเสื้อตัวสั้น คอกลม ผ่าอกติดกระดุม 5 เม็ด แขนกระบอกยาวจรดข้อมือ บางครั้งเป็นแขนสั้น เลยไหล่ลงมาเล็กน้อย ผ้าตัดเสื้อนิยมใช้ ผ้าเนื้อบาง สีสด เช่น ผ้ามัสลิน ผ้าป่าน หรือผ้าไนลอน สวมรองเท้าคีบรองเท้าแตะ ทั้งหญิง ชาย แต่ของหญิงจะเป็นสี มีลวดลายเป็นดอกดวง ปักด้วยลูกปัด หรือดิ้น เงินดิ้น ทอง สะพายย่าม ซึ่งเป็นผ้าไหมสีสวยสดทอมาจากรัฐฉาน

ผม โดยทั่วไปไว้ผมยาวเกล้าสูง บางทีก็ปล่อยชายห้อยลงมาไว้ทางซ้ายบ้างขวางบ้าง มีดอกไม้แซมผม เครื่องประดับ นิยมหิน และพลอยที่มีค่าเช่น ทับทิม นิล และหยก

ชาย 
เครื่องแต่งกาย นุ่งโสร่งเช่นเดียวกับหญิงแต่สีไม่ฉูดฉาด เป็นลายตาราง โตบ้าง เล็กบ้าง หรือเป็นลายทางยาวบ้าง โดยทั่วไปใส่เสื้อขาว เมื่อมีพิธีจะสวมเสื้อคล้ายเสื้อจีนแขนยาว ถึงข้อมือ แบบหนึ่ง เรียกว่า “กุยตั๋ง” เป็นเสื้อชายสั้น ๆ ติดดุมถักแบบจีนป้ายมาข้าง ๆ อีกแบบเรียกว่า “กุยเฮง” ตัวยาวถึงสะโพก และติดกระดุมตั้งแต่คอตรงมาจดชายเสื้อใช้สีสุภาพ เช่น ขาวดำ หรือ นวล ถ้าอากาศหนาวจะสวมเสื้อกัก ทอสักหลาดทับอีกชิ้น หนึ่ง จะสวมรองเท้าหุ้มส้นเมื่อมีพิธี

ผม ตัดผมสั้น ไม่นิยมสวมหมวก หรือโพกศีรษะตามประเพณีเดิม เมื่อมีพิธีจะมีผ้าหรือ แพรโพกศีรษะทำเป็นกระจุกปล่อยชายทิ้งไว้ทางด้านขวา นิยมใช้สีชมพู

ชาวพม่านิยมผลิตผ้าทอมือ แต่จะมีชาวเผ่าหนึ่งคือ พวก Yabeins แปลว่า ผู้ปลูกไหม ได้ ทอผ้าไหมที่มีลวดลายวิจิตรบรรจง เรียกว่า ผ้าตราหมากรุก (Check) นิยมทำกระโปรงแต่งงาน และเครื่องแต่งกายในพิธี ผ้าชนิดนี้จะมีเนื้อแน่น แข็งมาก ก่อนใช้ต้องนำไปแช่น้ำและทุบเสียก่อน เพื่อให้ผ้าเนื้อนิ่ม สีจะสวย ทนทาน นิยมใช้เป็นลองยีของสตรี ชาวพม่าได้เลียนแบบผ้าซิ่นผ้าไหมจากบางกอก เรียกว่า Bangkok lungis จะทอด้วยเส้น ไหมควบ นิยมทำสีอมเทา สีเหลืองอำพัน และสีเขียวทึม ๆ เป็นที่นิยมของสตรีพม่ามาก


วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

อาเซียนพม่า


พม่า (Myanmar)

ชื่อทางการ : สหภาพพม่า (Union of Myanmar)ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 28 องศา 30 ลิปดา ถึง 10 องศา 20 ลิปดาเหนือ ภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทำให้มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,000 ไมล์
  • ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทิเบตและจีน
  • ทางตะวันออกติดกับลาว
  • ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดกับไทย
  • ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับบังคลาเทศและอินเดีย
  • ทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw) (ภาษาพม่า) หรือบางครั้งสะกดเป็น เนปีตอ (Nay Pyi Taw) (มีความหมายว่า มหาราชธานี) เป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางการบริหารของสหภาพพม่าที่ได้ย้ายมาจากย่างกุ้ง ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัตปแว (Kyatpyae) ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองเปียนมานา (Pyinmana) ในเขตมัณฑะเลย์ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบ เมืองนี้เป็นเมืองเดียวของประเทศพม่าที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งในขณะที่เมืองหลวงเก่าย่างกุ้งจะไฟฟ้าดับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เมืองนี้อยู่ห่างย่างกุ้งไปทางเหนือประมาณ 320 กิโลเมตร ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งทางการพม่านั้นต้องการ เมืองนี้เริ่มมีการสร้างสิ่งต่าง ๆ บ้างแล้ว เช่น อพาร์ตเมนท์ ซึ่งคนพอมีเงินที่จะมาซื้ออยู่อาศัย เริ่มมีประชาชนอพยพมาอาศัยอยู่หลายหมื่นคน แต่เมืองหลวงแห่งนี้ ยังไม่มีโรงเรียน โรงพยาบาล เปรียบเสมือนเมืองทหาร ซึ่งกำลังก่อสร้างต่อไปประชากร : ประมาณ 56 ล้านคน (พ.ศ.2548) มีเผ่าพันธุ์ 135 เผ่าพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อชาติหลัก ๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า (ร้อยละ 68) ไทยใหญ่ (ร้อยละ 8) กะเหรี่ยง (ร้อยละ 7) ยะไข่ (ร้อยละ 4) จีน (ร้อยละ 3) มอญ (ร้อยละ 2) อินเดีย (ร้อยละ 2)ภูมิอากาศ : สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ในบริเวณที่เป็นเทือกเขาสูงทางตอนกลางและตอนเหนือของประเทศจะมีอากาศแห้งและร้อนมากในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวอากาศจะเย็นมาก ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำจะแปรปรวนในช่วงเปลี่ยนฤดู เพราะได้รับอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นเสมอ ทำให้บริเวณนี้มีฝนตกชุกหนาแน่นมากกว่าตอนกลางหรือตอนบนของประเทศที่เป็นเขตเงาฝน ข้อแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยว คือ ควรเดินทางในช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ เพราะฝนไม่ตก และอากาศไม่ร้อนจนเกินไปนักภาษา : ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการศาสนา : ศาสนาพุทธ (พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517) ร้อยละ 90 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 5 ศาสนาอิสลามร้อยละ 3.8 ศาสนาฮินดูร้อยละ 0.05สกุลเงิน : จ๊าด (Kyat : MMK) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 25 จ๊าดต่อ 1 บาท หรือประมาณ 1,300 จ๊าดต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ (มิถุนายน 2549)ระบอบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council – SPDC)

วัฒนธรรม
วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า ลุนตยาอชิก


คำทักทาย (ภาษาพม่า : ภาษาไทย) มิงกะลาบา : สวัสดี (ใช้ได้ตลอดวัน)เจซูติน บาแด : ขอบคุณมาก
ควินโละ บ่าหน่อ : ขอโทษ (Excuse me)
หม่อง (Maung) : ใช้เรียกเด็กผู้ชายและคนหนุ่มโสด
อู (U) : กระเด๊าะ : ขอโทษ (Sorry)ใช้เรียกผู้ใหญ่หรือผู้อาวโสชาย
ม่ะ (Ma) : ใช้เรียกเด็กผู้หญิงและสาวโสด
ดอว์ (Daw) : ใช้เรียกสตรีที่มีการศึกษา
อะโก / อะมะ : พี่ชาย / พี่สาว
อะเผ่ / อะเหม่ : พ่อ / แม่
อะโพ / อะพวา : คุณปู่คุณตา / คุณย่าคุณยาย
เย่าจา / เหมมะ : ผู้ชาย / ผู้หญิง
ยีซา : แฟน คนรัก
หลีน / มะย้า : สามี / ภรรยา
หยิ่นมอง : คนขับรถ
ซายา / ซายามะ : ครูชาย/ครูหญิง
ซิดดั้ด/เย : ทหาร/ตำรวจ
ไหน่หงั่นชาตา : ชาวต่างประเทศ
โบล่ : ฝรั่ง โยเดีย : คนไทย
เหมี่ยนหม่า : ชาวพม่า
ค้านเด่ : หล่อมาก
ตาตา : ลาก่อน
พื้นที่ : 676,577 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เท่าของไทย)